ผลการรักษา
ก่อนรักษา
หลังรักษา 3 เดือน
หลังรักษา 6 เดือน
หลังรักษา 12 เดือน
ผลการรักษาด้วยผลิตภัณฑ์ของ ยงยุทธคลินิกเวชกรรม
ธรรมชาติของเส้นผม |
ผม แต่ละเส้นงอกจากเดอร์มัลแปปิลลาไปเป็นเซลล์ที่เรียกว่าแมทริกซ์ (Matrix)ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อที่ผลิตเซลล์ผม เมื่อเซลล์นี้แบ่งตัวขึ้นมาก็จะดันเซลล์เก่าขึ้นไปข้างบนจนอยู่เหนือผิวหนังเซลล์ผมที่ถูกผลักขึ้นมาเรื่อยๆจะค่อยๆตายขณะเดียวกันก็ผลิตสารเคอราติน (Keratin) พอกพูนขึ้นสารเคอราตินนี้จะเรียงตัวเป็นเส้นขนานแต่ละเส้นของเคอราตินจะถูกยึดติดกันด้วยพลังไดซัลไฟด์บอด์ (Disulfide Bond) เมื่อสารเคอราตินถูกผลักให้สูงขึ้นๆจะมีการเรียงตัวแบ่งออกเป็น 3 ชั้นชัดเจนขึ้น ซึ่งชั้นแรกคือชั้นแกนกลางเรียกว่า เมดัลลา (Medulla) ชั้นถัดออกไปคือ คอร์เท็กซ์ (Cortex) ส่วนชั้นผิวนอกสุดเรียกว่า คิวติเคิล (Cuticle) |
ชั้นเมดัลลา (Medulla) มีเซลล์รูปร่างกลมๆระหว่างเซลล์มีช่องอากาศแทรกอยู่ทำให้ดูคล้ายฟองน้ำ
ชั้นคอร์เท็กซ์ (Cortex) มีเซลล์รูปร่างกระสวยซึ่งเป็นเซลล์ตายที่เต็มไปด้วยเคอราตินชั้นคอร์เท็กซ์นี้เป็นชั้นที่แสดงคุณลักษณะของเส้นผมไม่ว่าจะเป็นความอ่อนนุ่ม สีสัน และความอวบอ้วน หรือ ความผอมของผม
ชั้นคิวติเคิล (Cuticle) ที่อยู่นอกสุดเป็นชั้นที่ประกอบด้วยเซลล์ตายทับซ้อนกัน 7 ชั้นแต่ละเซลล์เต็มไปด้วยเคอราตินใสๆส่วนคิวติเคิลนี้มีลักษณะคล้ายเกล็ดปลาผายออก(ซึ่งช่วยทำให้การดึงผมหลุดออกมาได้ยาก)เส้นผมส่วนที่โผล่พ้นผิวหนังขึ้นมามีแต่เซลล์ตาที่เต็มไปด้วยเคอราติน
คนเราจะมีเส้นผมโดยประมาณ คนละ 80,000-100,000 เส้นผมคนเราไม่ได้งอกตลอดเวลา แต่มีวงจรการเจริญเติบโตของมันโดยเฉพาะ สามารถ แบ่งได้เป็น 3 ระยะ….. |
ที่แน่ชัดพบมากในวัยหนุ่มสาวพบน้อยในคนอายุเกิน45ปีขึ้นไปทั้งหญิงและชาย มีโอกาสเป็นเท่าๆกันอาการที่พบคือผมแหว่งหายไปเป็นหย่อมๆ มีลักษณะกลมหรือรีขอบเขตชัดเจนตรงกลางไม่มีเส้นผมแต่จะเห็นรูขุมขนส่วนหนังศีรษะในบริเวณนั้นเป็นปกติไม่แดงไม่เจ็บไม่คันไม่เป็นสะเก็ดหรือเป็นขุยอาจพบมีเพียง 1-2 หย่อมหรืออาจมากกว่านี้ |
1. ระยะการเจริญเติบโต ในระยะนี้ต่อมรากผมจะอยู่ลึกที่สุด ซึ่งจะอยู่ในชั้นหนังแท้พร้อมกับจะมีหลอดเลือดมาหล่อเลี้ยงอยู่มากมาย อัตราการเจริญเติบโตโดยเฉลี่ยจะยาวขึ้นประมาณ 1 ซ.ม. ต่อ ระยะเวลา 1 เดือน ติดต่อกัน 2 – 6 ปี เส้นผมของคนเราประมาณ 90 % จะอยู่ในระยะการเจริญเติบโตนี้ |
2. ระยะพัก เมื่อการเจริญเติบโตถึงที่สุดแล้วเส้นผมของคนเราก็จะเข้าสู่ ระยะพักระยะพักนี้จะเป็นเพียงช่วงสั้นๆโดยประมาณ 2- 3 สัปดาห์ ต่อมรากผมก็จะเลื่อนสูงขึ้นไปและจะแยกตัวออกจากหลอดเลี้ยงที่มาหล่อเลี้ยงเส้นผมเส้นผมของคนเราโดยประมาณ1 % ที่จะอยู่ในระยะพักนี้ |
3. ระยะหยุดการเจริญเติบโต ระยะหยุดการเจริญเติบโตนี้จะเป็นระยะสุดท้ายของเส้นผมต่อมรากผมจะค่อยๆเลื่อนสูงขึ้นไปเรื่อยๆและเส้นผมที่งอกใหม่ดันให้ผมเก่าหลุดร่วงไปโดยทั่วไประยะนี้จะกินเวลาประมาณ 3 เดือนและเส้นผมของคนเราโดยประมาณ 10% ที่อยู่ในระยะหยุดการเจริญเติบโต |
สรุปเมื่อเรารู้วงจรการเติบโตของเส้นผม ว่ามี 3 ระยะ ทำให้เราบอกได้ว่าการที่คนเรามีผมร่วงวันละ 10 – 100 เส้น ถือว่าเป็นปกติ ไม่ต้องกังวล เมื่อเราหวีผม หรือ สระผม ก็จะทำให้เส้นผมที่อยู่ในระยะ 3 คือระยะหยุดการเจริญเติบโตซึ่งเป็นระยะสุดท้าย หลุดร่วงง่ายขึ้นเส้นผมที่งอกมาใหม่นั้นเมื่อพ้นจากหนังศีรษะนั้นเป็นเซลล์ที่ตายแล้ว จะประกอบด้วย โปรตีน เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ ปัญหาอยู่ที่การดูแลต่อมรากผมให้แข็งแรงเพราะรากผมเป็นเซลล์ที่มีชีวิตเปรียบได้เหมือนกับโรงงานผลิตเส้นผม ถ้าการดูแลรากผมไม่ดีก็จะมีผลทำให้รากผมไม่แข็งแรงเส้นผมก็จะงอกผิดปกติได้ หรือถ้าปล่อยให้รากผมถูกทำลายก็จะทำให้เส้นผมใหม่งอกไม่ได้ |
ผมร่วงอย่างไรที่จะบอกได้ว่าผมร่วงผิดปกติ |
วิธีที่จะทำให้ท่านช่วยวินิจฉัยตัวท่านเองว่ามีผมร่วงผิดปกติ หรือ มีแนวโน้มว่าจะมีอาการผมร่วง ผมบาง ศีรษะเถิก ศีรษะล้าน ได้ในอนาคต โดยตอบคำถามต่อไปนี้ :--- |
1. ผมร่วงมากกว่า 100 เส้นต่อวัน ติดต่อกันนานกว่า 2 เดือน |
2. ผมบางลง และ/หรือ เส้นผมเล็กลง |
3. ศีรษะเถิก ไรผมขยับขึ้นเรื่อยๆ |
4. พ่อ แม่ หรือ ปู่ ย่า ตา ยาย มีประวัติผมร่วงผมบาง |
สาเหตุต่างๆที่มีผลทำให้เกิดปัญหา ผมร่วง ผมบาง |
กรรมพันธุ์ ( ดูรายละเอียดในเรื่องหัวล้าน ) |
เรื่องของกรรมพันธุ์ ส่วนใหญ่แล้วมักจะพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิงฮอร์โมนแอนโดรเจน (androgen) ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศชายมีส่วนสำคัญที่ทำให้เส้นผมมีอายุสั้นกว่าปกติและเส้นผมที่เกิดใหม่มีขนาดเล็กและบางลงส่วนมากจะเป็นบริเวณกลางศีรษะและหน้าผากเริ่มสังเกตุได้เมื่ออายุ 20 ปีขึ้นไปและจะเห็นชัดมากขึ้นเมื่ออายุมากขึ้นเรื่อยๆส่วนผู้หญิงมักจะเริ่มแสดงอาการหลังวัยหมดประจำเดือนที่จะเห็นเส้นผมบางลง |
โรคเชื้อราที่ศีรษะ
พบได้บ่อยในเด็กแต่จะไม่ค่อยพบในผู้ใหญ่เกิดจากการติดเชื้อรา ซึ่งมักจะลุกลามจากบริเวณอื่นของร่างกายโรคนี้ทำให้ผมร่วงเป็นหย่อมๆคล้ายโรคผมร่วงหย่อมไม่ทราบสาเหตุแต่จะมีลักษณะขึ้นผื่นแดงคันและเป็นขุยหรือสะเก็ดนอกจากนี้มักจะพบร่องรอยของโรคเชื้อรา(กลาก)ที่มือ เท้า ลำตัวหรือในบริเวณร่มผ้าร่วมด้วย |
ผมร่วง เป็นหย่อม |
ผมร่วงเป็นหย่อม (Alopecia areata) เป็นภาวะที่พบได้เป็นครั้งคราว แต่ไม่ทราบสาเหตุ |
ที่แน่ชัดพบมากในวัยหนุ่มสาวพบน้อยในคนอายุเกิน45ปีขึ้นไปทั้งหญิงและชายมีโอกาสเป็นเท่าๆกันอาการที่พบคือผมแหว่งหายไปเป็นหย่อมๆ มีลักษณะกลมหรือรีขอบเขตชัดเจนตรงกลางไม่มีเส้นผมแต่จะเห็นรูขุมขนส่วนหนังศีรษะในบริเวณนั้นเป็นปกติไม่แดงไม่เจ็บไม่คันไม่เป็นสะเก็ดหรือเป็นขุยอาจพบมีเพียง 1-2 หย่อมหรืออาจมากกว่านี้
เป็นโรคบางอย่างร่วมอยู่ด้วย หรือมีแผลเป็นที่หนังศีรษะ |
ผู้ป่วยที่เป็นโรคบางอย่าง เช่น โรคเอสเอลอี,โรคมะเร็ง,โรคทางต่อมไทรอยด์,โรคไทฟอยด์,โรคซิฟิลิส,โรคไต เป็นต้น ก็อาจมีอาการ ผมร่วงผมบางร่วมกับอาการของโรคเหล่านี้เช่น เป็นไข้เรื้อรังปวดตามข้อมีผื่นปีกผีเสื้อขึ้นที่หน้าต่อมน้ำเหลืองโตเป็นต้น..แผลเป็นเช่นโดนน้ำร้อนลวก สารเคมีหรือ อื่นๆ |
การใช้ยาและการฉายรังสี |
ยาที่อาจทำให้เกิดอาการผมร่วงมีอยู่หลายชนิดเช่น ยารักษามะเร็ง, ยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด (anticoagulants) เช่น เฮพาริน (Heparin), ยารักษาคอพอกเป็นพิษ, ยาคุมกำเนิด, คอลชิซีน, อัลโลพูรินอล (Allopurinol) ซึ่งใช้ป้องกันโรคเกาต์, แอมเฟตามีน(Amphetamine) เป็นต้น นอกจากนี้ การฉายรังสีในการรักษามะเร็งก็อาจทำให้ผมร่วงได้ |
จากการถอนผม |
พบได้บ่อยในเด็กที่มีปัญหากดดันทางจิตใจด้วยสาเหตุต่างๆเช่น ปัญหาทางครอบครัว ปัญหาการเรียน เป็นต้น เด็กบางคนอาจถอนผมเล่นจนเป็นนิสัยโดยไม่มีปัญหาทางจิตใจก็ได้เรียกอาการนี้ว่า (Trichotillomania) ผู้ป่วยจะถอนผมตัวเองเล่นจนผมร่วงหรือผมแหว่งเด็กบางคนอาจถอนผมเฉพาะตอนก่อนนอนซึ่งจะพบมีเส้นผมตกอยู่ที่นอนบ่อยเส้นผมเหล่านี้จะไม่มีต่อมรากผมและหนังศีรษะบริเวณที่ผมร่วงจะไม่มีผื่นคันหรือเป็นขุยและจะพบเส้นผมที่เป็นรอยแผลเป็นที่หนังศีรษะ |
ผมร่วง เนื่องจากผมหยุดเจริญชั่วคราว |
ปกติเส้นผมของคนเราจะมีอายุนาน 2-6 ปี แล้วจะหยุดการเจริญงอกงามในแต่ละวันจึงมีเส้นผมประมาณ 10% ที่เสื่อมและหลุดร่วงไปแต่ในบางภาวะเส้นผมที่กำลังเจริญอาจหยุดการเจริญในทันทีทำให้มีเส้นผมหลุดร่วงเพิ่มจำนวนมากกว่าปกติสาเหตุที่ทำให้ผมหยุดการเจริญชั่วคราว ที่พบได้บ่อย มีดังนี้:-- |
ผู้หญิงหลังคลอดมักมีผมร่วงหลังคลอดประมาณ 3 เดือนเนื่องจากขณะคลอดเส้นผมบางส่วนเกิดหยุดการเจริญเติบโตในทันทีต่อมาอีก 2-3 เดือน ผมเหล่านี้ก็จะร่วงส่วนทารกแรกเกิดก็อาจมีอาการผมร่วงในระยะ 1-2 เดือนแรกแล้วจะค่อยๆมีผมงอกขึ้นใหม่ |
เป็นไข้สูง เช่น ไข้รากสาดน้อย ไข้หวัดใหญ่ ปอดอักเสบ เป็นต้น จะมีอาการผมร่วง หลังเป็นไข้ ประมาณ 2-3 เดือน หรือเจ็บป่วยเรื้อรัง เช่น วัณโรค, เบาหวาน , โลหิตจาง,ขาดอาหาร เป็นต้น หรือได้รับการผ่าตัดใหญ่ตลอดจนการเสียเลือดรวมทั้งการบริจาคเลือดก็เป็นไปได้ |
การใช้ยา เช่น ยาคุมกำเนิด, อัลโลพูรินอล, โพรพิลไทโอยูราซิล, เฮพาริน เป็นต้น |
ภาวะเครียดทางจิตใจเช่น ตกใจ เสียใจ เศร้าใจ เป็นต้นผู้ป่วยจะมีอาการผมร่วงมากผิดปกติ ซึ่งมักจะมีอาการตามหลังสาเหตุเหล่านี้ประมาณ 2-3 เดือน และอาจจะเป็นอยู่นาน 2-6 เดือน ก็จะหายได้เองอย่างสมบูรณ์ |
ผมร่วงตามธรรมชาติ เส้นผมของคนเรามีประมาณ 80000-100000 เส้น จะมีผมร่วงทุกวันเป็นปกติ 10-100 เส้น เพราะเส้นผมจะอยู่ในระยะหยุดเจริญเติบโต ประมาณ 10 % |
ศีรษะเถิก ศีรษะล้าน ( ในเพศชาย ) |
สาเหตุของผมร่วงศีรษะล้านคือภาวะผมร่วงแอนโดรจินีติก ( Androgenetic alopecia ) หมายถึงภาวะศีรษะล้านแบบผู้ชาย ( MALE PATTERN BALDNESS ) หรือภาวะผมร่วงกรรมพันธุ์ซึ่งพบได้มากกว่า 95 % เข้าใจว่าเกิดจากปัจจัยที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกัน 3 ประการดังนี้ |
1.GENES ( ยีน ) ยีนคือหน่วยพันธุ์กรรมที่อยู่บนโครโมโซม โครโมโซมของคนเรามีทั้งหมด23คู่โดยได้รับมาจากพ่อและแม่อย่างละครึ่งเดิมพบว่าส่วนประกอบของสารพันธุกรรมที่อยู่บนโครโมโซมเอ็กซ์ (x – chromosome) ซึ่งได้รับมาจากแม่มีความสำคัญและส่งผลให้เกิดภาวะผมร่วงชนิดนี้ขึ้น จึงทำให้บางคนคิดว่าพันธุกรรมจากแม่มีผลมากกว่าพันธุกรรมที่ได้รับจากพ่อการค้นพบยีนตัวรับแอนโดรเจน (androgen recepter gene) บนโครโมโซม Xช่วยเสริมในการอธิบายว่า ทำไมรูปแบบศีรษะล้านในผู้ชายจึงเหมือนหรือคล้ายกับตาหรือญาติทางฝั่งแม่มากกว่าพ่อแต่ในปัจจุบันพบว่าผมร่วงจากภาวะนี้เกี่ยวข้องกับยีนมากกว่า 1 อัน (polygenic)และเร็วๆนี้มีการพบยีนบนโครโมโซมคู่ที่20ที่เกี่ยวข้องกับภาวะนี้ซึ่งสามารถถ่ายทอดมาได้จากทั้งแม่และพ่อทำให้สามารถอธิบายใหม่ได้เพิ่มเติมว่า ทำไมลูกจึงมีศีรษะล้านรูปแบบคล้ายที่พบกับพ่อได้( แม้ว่าจะยังไม่เป็นที่ชัดเจนนักแต่ก็พบว่าพันธุกรรมที่ได้รับจากแม่ดูเหมือนว่าจะมีความสำคัญมากกว่าที่ได้รับจากพ่ออยู่เล็กน้อย )หมายความว่ามียันนี้เพียงอันเดียวก็สามารถแสดงลักษณะของศีรษะล้านรูปแบบนี้ออกมาได้แต่ไม่ได้หมายความว่าทุกคนที่มียีนนี้อยู่จะแสดงลักษณะ (expressity)ของศีรษะล้านทุกคน เนื่องจากมีปัจจัยอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการแสดงลักษณะของยีนนี้ด้วยปัจจัยดังกล่าวได้แก่ ฮอร์โมน,อายุ,ความเครียด,และปัจจัยภายในของแต่ละบุคคล |
2. HORMONES ( ฮอร์โมน ) ฮอร์โมนคือสารเคมีที่หลั่งออกจากต่อม (glands) เข้าสู่กระแสเลือด เพื่อไปออกฤทธิ์ยังอวัยวะเป้าหมาย ฮอร์โมนเพศชายที่สำคัญคือ เทสโทสเตอโรน (Testosterone ) สร้างมากที่ต่อมลูกหมากและอัณฑะ ฮอร์โมนนี้ทำให้เกิดลักษณะของความเป็นชาย ทำให้อวัยวะเพศชายเจริญขึ้น สร้างตัวอสุจิ (Sperm ) กระตุ้นให้มีความรู้สึกทางเพศ กระตุ้นให้มีขนบริเวณ รักแร้ และ หัวเหน่า แต่ฮอร์โมนชนิดนี้สามารถทำให้เกิดศีรษะล้านได้ด้วย เนื่องจากสามารถเปลี่ยนเป็น DHT (ดูหัวข้ออะไรคือ DHT ) ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้รากขนเสื่อมลง และ ตายได้ นอกจากนี้ ฮอร์โมนนี้ยังผลิตขึ้นได้จาก ต่อมหมวกไต และ รังไข่ ของผู้หญิงอีกด้วย ดังนั้นในผู้หญิงจึงพบว่ามีปริมาณฮอร์โมนนี้อยู่ด้วย แต่พบในปริมาณ ที่น้อยกว่าในเพศชาย ขบวนการการเปลี่ยนจากTestosterone เป็น DHT จำเป็นต้องอาศัย Enzyme ( เอ็นไซม์ ) ทีมีชื่อว่า 5- alpha-reductase ในผู้ชายพบว่าเอ็นไซม์นี้มีการทำงานมากขึ้นในบริเวณที่มีผมร่วง ฮอร์โมน DHT จะลดระยะการเจริญของผม ทำให้ผมเข้าสู่ระยะพักเร็ว ผมจึงหลุดร่วงเร็ว |
3. AGE ( อายุ ) ไม่เฉพาะเพียงแต่ ยีน และ ฮอร์โมนเท่านั้นที่เกี่ยวข้องกับภาวะศีรษะล้านชนิดนี้ แม้ว่าในวัยรุ่นจะเริ่มมีฮอร์โมนเพศชาย Testosterone แต่ภาวะนี้ยังพบได้น้อยในวัยรุ่น และพบมากขึ้นตามอายุ ดังนั้นอายุที่มากขึ้นจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะศีรษะล้านรูปแบบเพศชาย แต่จะเริ่มขึ้นเมื่อใดนั้นแตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคล อายุเป็นสาเหตุได้อย่างไร ยังไม่เป็นที่เข้าใจชัดนัก ภาวะผมร่วงไม่ได้เพิ่มขึ้นเป็นเส้นตรงที่แปรผันตามอายุ แต่กลับพบเป็นวงจรมีช่วงที่ผมร่วงเร็วขึ้นหรือช้าลงสลับกันไป ดังนั้นจึงน่าจะมีปัจจัยอื่นที่มากระตุ้นทำให้เกิดภาวะผมร่วงอีก แต่อย่างไรก็ตามพบว่าเมื่ออายุมากขึ้น ปริมาณของเส้นผมจะลดลง แม้ว่าจะไม่มีปัจจัยด้านพันธุกรรม จากการศึกษาพบว่าเมื่ออายุมากขึ้นเส้นผมจะหดตัวทำให้ขนาดของเส้นผมและความยาวของเส้นผมลดลง นอกจากนี้รากขนยังทำงานน้อยลง และปริมาณของรากขนก็จะลดลงด้วย ทำให้ผมบนหนังศีรษะดูบางได้ในบางบริเวณ ทั้งนี้อาจเกิดเนื่องจากความเสื่อมเมื่ออายุมากขึ้น และปริมาณการไหลเวียนของเลือดที่ไปเลี้ยงยังบริเวณหนังศีรษะด้วย |
DHT ( Dihydrotestosterone ) |
ฮอร์โมนเพศชายที่สำคัญคือเทสโทสเตอโรน (Testosterone ) ฮอร์โมนชนิดนี้ สามารถทำให้เกิดศีรษะล้านได้ด้วย เนื่องจากสามารถเปลี่ยนเป็นDHT ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้รากขนเสื่อมขบวนการการเปลี่ยนจากTestosteroneเป็น DHTจำเป็นต้องอาศัย Enzyme ( เอ็นไซม์ ) ทีมีชื่อว่า 5- alpha-reductase |
DHT มีผลยังไงกับเรา ? ถ้ามันมีอยู่มากที่ผิวหนัง ก็จะมีส่วนกระตุ้นให้ต่อมไขมันใหญ่ขึ้น ผิวหนังก็จะมีน้ำมันออกมามากขึ้น พอเจอกะฝุ่นหรือสิ่งสกปรกก็อาจจะเกิดการอุดตันเป็นสิวอักเสบขึ้นมาได้ ถ้ามันเป็นต่อมไขมันที่รากผม DHTจะจับกับเซลล์สร้างเส้นผม และออกฤทธิ์ยับยั้งกระบวนการสร้างเส้นผมปกติ ทำให้เส้นผมใหม่ที่ขึ้นมาทดแทนเส้นผมเดิมที่ร่วงไป มีขนาดเล็กลงเรื่อย ๆ จนในที่สุดเกิดภาวะ ผมบาง และ ศีรษะล้าน ตามมา แต่ถ้ามันไปมีอยู่มากที่ต่อมลูกหมาก ก็จะมีส่วนทำให้เกิดอาการต่อมลูกหมากโตได้ |
สูตรเคมี Dihydrotestosterone |
ลักษณะศีรษะล้านในผู้ชายมักเริ่มจากมีการถอยร่นของแนวผมทางด้านหน้าลึกเข้าไปเป็นง่าม และเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ ตามอายุ บางคนอาจมี ศีรษะล้าน ด้านหลังตรงบริเวณขวัญร่วมด้วย สุดท้ายแล้วถ้าผมยังไม่หยุดร่วง ศีรษะล้าน ทั้ง 2 บริเวณจะลามเข้าหากันจนกลายเป็น ศีรษะล้าน บริเวณกว้าง ซึ่งจะเป็นมากน้อยแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับกรรมพันธุ์ของคนๆนั้น |
ความรุนแรงของศีรษะล้านจำแนกได้เป็น 7 ระยะ |
สูตรเคมี Dihydrotestosterone |
ลักษณะศีรษะล้านในผู้ชายมักเริ่มจากมีการถอยร่นของแนวผมทางด้านหน้าลึกเข้าไปเป็นง่าม และเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ ตามอายุ บางคนอาจมี ศีรษะล้าน ด้านหลังตรงบริเวณขวัญร่วมด้วย สุดท้ายแล้วถ้าผมยังไม่หยุดร่วง ศีรษะล้าน ทั้ง 2 บริเวณจะลามเข้าหากันจนกลายเป็น ศีรษะล้าน บริเวณกว้าง ซึ่งจะเป็นมากน้อยแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับกรรมพันธุ์ของคนๆนั้น |
ความรุนแรงของศีรษะล้านจำแนกได้เป็น 7 ระยะ |